วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การงานอาชีพ

  การใช้เทคโนโลยี
 
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ "เทคโนโลยี" ช่วยการเรียนรู้
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICTกับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide
ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology)
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology)
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology)
แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
(1) การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
(2) การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
(3) การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule)ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
(4) การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
(5) การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็น
การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ
1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน
3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Softwares แถบบันทึกวีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
4. การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือนรายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practices จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
บทสรุป
มีผู้กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T: Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว     ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์
มีความคาดหวังว่า เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยียนสถานศึกษาใดในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน
 
การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ
 
ขวดที่ใช้ เป็นขวดน้ำอัดลมทุกยี่ห้อ
แต่ปากขวกเป๊ปซี่ จะเล็กกว่า ดังนันก่อนใช้
ต้องขยายปากให้เท่ากับขวดโค๊กเสียก่อน
(ฐานยิงของผมใช้ขวดโค๊กเป็นมาตรฐาน)
การขยายปากขวดทำได้ไม่ยาก เครื่องมือ
ขยายปากขวดจะแถมพร้อมกับฐานยิง
การทำจรวดแบบง่าย
 
ใช้ขวด 2 ใบ ใบแรกทำเป็นที่เก็บลม
อีกใบตัดครึ่ง เอาวส่วนบน ทำเป็นหัวจรวด
แล้วนำไปต่อกับส่วนที่เป็นที่เก็บลม
ซึ่งจะเป็นส่วนหาง ใช้เทปใสหรือกาว
ยึดทั้งสองส่วนให้แน่น ส่วนหัวจรวดใช้ฝาปิด
ที่ด้านหางจรวด ติดปีก 3 หรือ 4 ปีก
หรือมากกว่า ตามต้องการ ควรทดลอง
ว่ากี่ปีกจึงจะดี หรือผลแตกต่างกันอย่างไร
ปีกหลังจะใช้วัสดุอะไรก็ได้ ลองดูว่า
ชนิดไหนจะดี พยายามสังเกตความแตกต่าง
เป้าหมายของการเล่นจรวดขวดน้ำ คือการทดลอง
ค้นคว้า วิจัย ศึกษาเปรียบเทียบ การฝึกการสังเกตุ
และการหาเหตุและผล ฝึกการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
 
การทำจรวดขวดน้ำขั้นพัฒนา
 
เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้นจึงจำเป็นต้องพัฒนา
และหาทางที่จะทำให้ดีขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ
ประการ อาทิ รูปร่าง น้ำหนัก แรงต้าน ปีกหลัง
ฐานยิง แกนนำส่ง ท่อพักลม ฯลฯ
และอีกหลายๆ ประการตามที่นึกว่าจะเป็นผล
ต่อการเคลื่อนที่ ของจรวด
อันดับแรกเตรียมอุปกรณ์ตามภาพ
เพื่อจะนำมาใช้ในการเป่าขวด หรือ
ทดสอบขวด หรืออื่นๆ ในภายหลัง
เมื่อทำเสร์จแล้วลองขันเข้าที่ปากขวดแล้วเติมลม
40 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือเกือบๆ 3 บาร์
ต่อไปนำไปเป่า
การเป่าขวด
ใช้ไดเป่าผมแบบที่แรงๆหน่อยเป่าไป หมุนไป
สัก 1 นาที การนับ นับว่า 1 พัน 1
1 พัน 2 1 พัน 3 จนครับ 1 พัน 60 ก็จะเป็น
เวลา 60 วินาที แต่อาจใช้เวลา มากกว่า หรือน้อย
กว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องสังเกตให้ดี ขณะเป่าไปได้สักระยะ
จีบที่ก้นขวดก็จะค่อยๆ ขยายออกมา จะได้ตามรูป
ขณะที่ขวดร้อน อากาศในขวดจะมีแรงดันเพิ่มขึ้น
อาจลดลมบ้างก็ได้ เพื่อความปลอดภัย
ผมลองใช้ไดเป่าผมขนาดที่ว่าแรงๆ แล้ว
ปรากฏว่าไม่แรงพอและใช้ได้ไม่ครอบคลุม
ถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร แต่หากจะซื้อควรซื้อแบบ
ที่ใช้เป่าฟิล์มหดจะดีกว่า ขนาด 1800 วัตต์
สามารถลดความแรงลงเหลือ 900 วัตต์ได้
ทำให้การใช้งานครอบคลุมทั้งเป่าขวดและเป่าท่อ
การติดปีก
รูปแบบปีก ส่วนใหญ่จะเรียนแบบจรวดจริง
หรือทดลองหลายๆ แบบก็ได้ แบไหนดี
ก็ใช้แบบนั้น ส่วนการติดก็มีหลายแบบ
ในภาพเป็นแบบ พับซ้าย พักขวา ให้แนบกับลำตัว
แล้วหยอกกาวแห้งไวพอประมาณ โรยด้วยแป้ง
โรยตัว ด้วยก็ดี แล้วขัดออกด้วยกระดาษทรายให้เนียน
พับซ้าย พับ ขวา ประมาณ ครึ่งเซ็นต์
 
รูปร่างปีกอีกแบบหนึ่ง ควรใช้พลาสติคที่แข็งหน่อย
ในภาพใช้พลาสติดอ่อน ผลการยิงไม่ค่อยดี
ส่วนเนื้อหาต่อไป จะค่อยๆ ทยอยตามมา
เพราะเวลามีน้อย ต้องขอบคุณลูกค้าที่สั่งฐานยิง
และสินค้าอื่นๆส่วนการต่อขวดอีกแบบก็น่าสนใจ
ลองทำดูนะครับ  ดูภาพประกอบ
ใช้ขวด 2 ใบตามภาพ
ต่อขวดตามภาพ ผลการยิงน่าสนใจ พบว่าไกลขึ้น
ใส่ปีก โดยแบ่งบัตรเติมเงินเป็น 2ส่วน ตามแนวทะแยงมุม
ตัดโค้งนิดๆ ส่วนจะเป็นรูปแบบอื่นก็ควรลองดู
 
ที่หัวลองเอากระดาษใส่ลงไปกะให้พอดี เพื่อจะได้
ไปรองรับดินน้ำมัน น้ำหนักหัวควรได้ สัก 50 กรัม
จะมากน้อยกว่านี้ก็ควรทดลองดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น