วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สังคมศึกษา

 





สงครามกับพม่าครั้งที่ 2

หลังจากพม่าเกิดความวุ่นวายภายในและทำการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของพม่าใหม่ โดยมีมังลอกพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอลองพญาได้ราชสมบัติ และต้องทำการสงครามปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องอยู่เกือบปี ก็พอดีทรงพระประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา มังระพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อ มีนิสัยชอบการสงครามเหมือนพระราชบิดา จึงให้ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ตีหัวเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้าโจมตีไทยฝ่ายเหนือ เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เวียงจันทร์ แล้วรุดหน้ามาทางใต้เข้าล้อมอยุธยา เป็นทัพกระหนาบเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ไว้ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับการเสียกรุงในครั้งนั้นว่า

"เครื่องศัสตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่จ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนเอาไปยิงก็จะเกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง เข็ดหยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปกติของผู้ดีชั้นนั้น"

ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ 1 เป็นใจความว่า

"ครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด (พระเจ้าเอกทัศ) รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำ

อุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างใน (หม่อนต่าง ๆ เข่น มีเรื่องเล่าถึงหม่อนเพ็ง หม่อนแมน) ก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ) รับสั่งต่อไปว่า สั่งคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง"

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่สามารถทำการศึกสงครามได้ และไม่สามารถทั้งในการรวมคนป้องกันพระนคร ประชาชนจึงไปอันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยรักษาพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอม พม่าล้อมและระดมตีไทยอยู่ครั้นนั้นเป็นเวลานานถึง ๑ ปี ๒ เดือน ถึงวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ก็เข้าเมืองได้ ได้เผาผลาญบ้านเมืองเสียยับเยิน กวาดเก็บทรัพย์สินและสมบัติและผู้คนเป็นเชลยเสียมากปราสาทราชมณเฑียรต่าง ๆ ก็ถูกไปเผาพินาศสิ้น ทองหุ้มองค์พระพุทธรูป พม่าเอาไฟเผาครอกเอาไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งกล่าวว่า

"ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ เผาเหย้าเรือนอาวาส และพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร และเพลิงสว่างดังกลางวันแล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกจากเมืองลงเรือน้อยไปกับมหาดเล็กสองคน ไปซ่อนอยู่ในสุมทุมไม้ใกล้บ้านจิกขัน วัดสังฆาวาส มหาเล็กนั้นก็ทิ้งเสียหนีไปอื่น อดอาหารอยู่แต่เพียงพระองค์เดียวพม่าหาจับได้ยาก จับได้เพียงแต่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวงไปไว้ทุกๆ ค่าย.แล้วพม่าก็เอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น

หลังจากนั้นพม่าค้นหาผู้คนและทรัพย์สมบัติอยู่ 10 วัน ได้ทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมากแล้วยกกองทัพกลับ ตั้งให้สุกี้เป็นแม่ทัพกุมพล 3,000 คน อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อค้นหาสมบัติและส่งผู้คนไปยังพม่าต่อไป ส่วนองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีไปซุกซ่อนอยู่ อดอาหารมากกว่า 10 วัน สุกี้ไปพบและนำมายังค่ายโพธิ์สามต้นก็สวรรคต พร้อมกับสิ้นบุญกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี

พ.ศ. ๒๓๐๑ และสวรรคตในปีเดียวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๐ สืบเนื่องมาจากถูกพม่าเผากรุงศรีอยุธยาวอดวายและพระองค์อดอาหาร

สาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า

    1. ความเสื่อมเรื้อรังในสถาบันการเมืองและทางสังคม สืบเนื่องมาจากแย่งชิงอำนาจกัน
    2. ความเสื่อมจากการมีผู้นำที่ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด
    3. ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ เพราะเว้นจากการศึกสงครามมานาน
    4. พม่าเปลี่ยนยุทธวิธี และหันมาใช้วิธีตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ
    5. เกิดไส้ศึกภายใน
ความเสียหายที่เกิดหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๓๑๐

เป้นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำนาจไทยมา 417 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น