วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การงานอาชีพ

  การใช้เทคโนโลยี
 
แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ "เทคโนโลยี" ช่วยการเรียนรู้
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICTกับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide
ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
ปกติเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology)
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology)
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology)
แนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
(1) การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
(2) การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
(3) การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule)ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
(4) การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
(5) การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็น
การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ
1. ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อ Electronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน
3. สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Softwares แถบบันทึกวีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
4. การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือนรายงาน Software ในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้ Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practices จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
บทสรุป
มีผู้กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T: Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว     ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์
มีความคาดหวังว่า เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยียนสถานศึกษาใดในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน
 
การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ
 
ขวดที่ใช้ เป็นขวดน้ำอัดลมทุกยี่ห้อ
แต่ปากขวกเป๊ปซี่ จะเล็กกว่า ดังนันก่อนใช้
ต้องขยายปากให้เท่ากับขวดโค๊กเสียก่อน
(ฐานยิงของผมใช้ขวดโค๊กเป็นมาตรฐาน)
การขยายปากขวดทำได้ไม่ยาก เครื่องมือ
ขยายปากขวดจะแถมพร้อมกับฐานยิง
การทำจรวดแบบง่าย
 
ใช้ขวด 2 ใบ ใบแรกทำเป็นที่เก็บลม
อีกใบตัดครึ่ง เอาวส่วนบน ทำเป็นหัวจรวด
แล้วนำไปต่อกับส่วนที่เป็นที่เก็บลม
ซึ่งจะเป็นส่วนหาง ใช้เทปใสหรือกาว
ยึดทั้งสองส่วนให้แน่น ส่วนหัวจรวดใช้ฝาปิด
ที่ด้านหางจรวด ติดปีก 3 หรือ 4 ปีก
หรือมากกว่า ตามต้องการ ควรทดลอง
ว่ากี่ปีกจึงจะดี หรือผลแตกต่างกันอย่างไร
ปีกหลังจะใช้วัสดุอะไรก็ได้ ลองดูว่า
ชนิดไหนจะดี พยายามสังเกตความแตกต่าง
เป้าหมายของการเล่นจรวดขวดน้ำ คือการทดลอง
ค้นคว้า วิจัย ศึกษาเปรียบเทียบ การฝึกการสังเกตุ
และการหาเหตุและผล ฝึกการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
 
การทำจรวดขวดน้ำขั้นพัฒนา
 
เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้นจึงจำเป็นต้องพัฒนา
และหาทางที่จะทำให้ดีขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ
ประการ อาทิ รูปร่าง น้ำหนัก แรงต้าน ปีกหลัง
ฐานยิง แกนนำส่ง ท่อพักลม ฯลฯ
และอีกหลายๆ ประการตามที่นึกว่าจะเป็นผล
ต่อการเคลื่อนที่ ของจรวด
อันดับแรกเตรียมอุปกรณ์ตามภาพ
เพื่อจะนำมาใช้ในการเป่าขวด หรือ
ทดสอบขวด หรืออื่นๆ ในภายหลัง
เมื่อทำเสร์จแล้วลองขันเข้าที่ปากขวดแล้วเติมลม
40 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือเกือบๆ 3 บาร์
ต่อไปนำไปเป่า
การเป่าขวด
ใช้ไดเป่าผมแบบที่แรงๆหน่อยเป่าไป หมุนไป
สัก 1 นาที การนับ นับว่า 1 พัน 1
1 พัน 2 1 พัน 3 จนครับ 1 พัน 60 ก็จะเป็น
เวลา 60 วินาที แต่อาจใช้เวลา มากกว่า หรือน้อย
กว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องสังเกตให้ดี ขณะเป่าไปได้สักระยะ
จีบที่ก้นขวดก็จะค่อยๆ ขยายออกมา จะได้ตามรูป
ขณะที่ขวดร้อน อากาศในขวดจะมีแรงดันเพิ่มขึ้น
อาจลดลมบ้างก็ได้ เพื่อความปลอดภัย
ผมลองใช้ไดเป่าผมขนาดที่ว่าแรงๆ แล้ว
ปรากฏว่าไม่แรงพอและใช้ได้ไม่ครอบคลุม
ถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร แต่หากจะซื้อควรซื้อแบบ
ที่ใช้เป่าฟิล์มหดจะดีกว่า ขนาด 1800 วัตต์
สามารถลดความแรงลงเหลือ 900 วัตต์ได้
ทำให้การใช้งานครอบคลุมทั้งเป่าขวดและเป่าท่อ
การติดปีก
รูปแบบปีก ส่วนใหญ่จะเรียนแบบจรวดจริง
หรือทดลองหลายๆ แบบก็ได้ แบไหนดี
ก็ใช้แบบนั้น ส่วนการติดก็มีหลายแบบ
ในภาพเป็นแบบ พับซ้าย พักขวา ให้แนบกับลำตัว
แล้วหยอกกาวแห้งไวพอประมาณ โรยด้วยแป้ง
โรยตัว ด้วยก็ดี แล้วขัดออกด้วยกระดาษทรายให้เนียน
พับซ้าย พับ ขวา ประมาณ ครึ่งเซ็นต์
 
รูปร่างปีกอีกแบบหนึ่ง ควรใช้พลาสติคที่แข็งหน่อย
ในภาพใช้พลาสติดอ่อน ผลการยิงไม่ค่อยดี
ส่วนเนื้อหาต่อไป จะค่อยๆ ทยอยตามมา
เพราะเวลามีน้อย ต้องขอบคุณลูกค้าที่สั่งฐานยิง
และสินค้าอื่นๆส่วนการต่อขวดอีกแบบก็น่าสนใจ
ลองทำดูนะครับ  ดูภาพประกอบ
ใช้ขวด 2 ใบตามภาพ
ต่อขวดตามภาพ ผลการยิงน่าสนใจ พบว่าไกลขึ้น
ใส่ปีก โดยแบ่งบัตรเติมเงินเป็น 2ส่วน ตามแนวทะแยงมุม
ตัดโค้งนิดๆ ส่วนจะเป็นรูปแบบอื่นก็ควรลองดู
 
ที่หัวลองเอากระดาษใส่ลงไปกะให้พอดี เพื่อจะได้
ไปรองรับดินน้ำมัน น้ำหนักหัวควรได้ สัก 50 กรัม
จะมากน้อยกว่านี้ก็ควรทดลองดู

ศิลปะ




คำนิยามของศิลปะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้นิยามของศิลปะว่า
ศิลปะ คือ ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงซึ่งอารมณ์ สะเทือนใจ ให้ประจักษ์เห็น

พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 นิยามความหมายของศิลปะว่า
ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่แสดงออก ในรูปลักษณ์ ต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา และกล่าวว่า ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) กับประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)

อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในยุคกรีกโบราณ นิยามความหมาย ของศิลปะว่า
ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ

ตอลสตอย (Leo Tolstoi) นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย นิยาม ความหมาย ของศิลปะ ว่า
ศิลปะคือการถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์ออกมา

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี (C. Feroci) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้มาวางรากฐาน การศึกษาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ได้นิยามความหมายของศิลปะว่า
ศิลปะคืองาน อันเป็น ความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายาม ด้วยมือและความคิด

ศละมนุษย์ก็ ถือกำเนิดมาท่ามกลาง ธรรมชาติ อีกทั้งบนเส้นทาง การดำเนินชีวิตมนุษย์ก็ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติ จนไม่สามารถ แยกออกจากกันไดในทางศิลปะ มิใช่เป็นการบันทึก เลียนแบบเหมือนกระจกเงาหรือ ภาพถ่าย ซึ่งบันทึกสะท้อนทุกส่วน ที่อยู่ตรงหน้า แต่อาจจะเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจจะใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปด้วย


ความหมายของศิลปะ
           ศิลปะมีความหมายกว้างขวางและยากที่จะนิยาม หรือกำหนดไว้ตายตัว
เนื่องจากมีลักษณะการแสดงออกที่เป็นอิสระ สามารถที่จะสร้างสรรค์และพัฒนา
เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็พอจะรวบรวมความหมายที่นักปราชญ์ หรือผู้รู้
ได้เสนอความคิดเห็นไว้ ดังนี้

1. ตอลสตอย นักปราชญ์ชาวรัสเซีย ให้ความเห็นไว้ว่า ”ศิลปะ คือ การถ่ายทอด
ความรู้สึก เป็นวิธีการสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน”

2. อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า “ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์ถ่ายทอด
จากธรรมชาติ“

3. ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้ความหมายของศิลปะว่า “งานอันเป็นความพากเพียร
ของมนุษย์ ซึงต้องใช้ความพยายามด้วยมือและความคิด“
           มนุษย์สร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อความชื่นชม สนองความต้องการด้านอารมณ์
และจิตใจ ผ่านประสาทสัมผัส 3 ด้าน ได้แก่ ศิลปะที่มองเห็น เรียกว่า ทัศนศิลป์
ศิลปะที่แสดงออกทางเสียง เรียกว่า โสตศิลป์ หรือ ดนตรี และศิลปะที่แสดงออก
ทางลีลาการเคลื่อนไหว เรียกว่า นาฎศิลป์ หรือการละคร
           สำหรับศิลปะที่มองเห็น หรือ ทัศนศิลป์ (Visual Art) เป็นศิลปะที่สามารถสัมผัส
รับรู้ ชื่นชมทางสายตา และสัมผัสจับต้องได้ กินระวางเนื้อที่ในอากาศ แบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่
1. จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพและระบายสี หรือการแสดงออกบน
พื้นระนาบ 2 มิติ
2. ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้น การสลัก หรือการแสดงออกเป็น
ผลงาน 3 มิติ
3. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ




สังคมศึกษา

 





สงครามกับพม่าครั้งที่ 2

หลังจากพม่าเกิดความวุ่นวายภายในและทำการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของพม่าใหม่ โดยมีมังลอกพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอลองพญาได้ราชสมบัติ และต้องทำการสงครามปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องอยู่เกือบปี ก็พอดีทรงพระประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา มังระพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อ มีนิสัยชอบการสงครามเหมือนพระราชบิดา จึงให้ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ตีหัวเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้าโจมตีไทยฝ่ายเหนือ เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เวียงจันทร์ แล้วรุดหน้ามาทางใต้เข้าล้อมอยุธยา เป็นทัพกระหนาบเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ไว้ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับการเสียกรุงในครั้งนั้นว่า

"เครื่องศัสตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่จ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนเอาไปยิงก็จะเกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง เข็ดหยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปกติของผู้ดีชั้นนั้น"

ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ 1 เป็นใจความว่า

"ครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด (พระเจ้าเอกทัศ) รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำ

อุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างใน (หม่อนต่าง ๆ เข่น มีเรื่องเล่าถึงหม่อนเพ็ง หม่อนแมน) ก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ) รับสั่งต่อไปว่า สั่งคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง"

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่สามารถทำการศึกสงครามได้ และไม่สามารถทั้งในการรวมคนป้องกันพระนคร ประชาชนจึงไปอันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยรักษาพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอม พม่าล้อมและระดมตีไทยอยู่ครั้นนั้นเป็นเวลานานถึง ๑ ปี ๒ เดือน ถึงวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ก็เข้าเมืองได้ ได้เผาผลาญบ้านเมืองเสียยับเยิน กวาดเก็บทรัพย์สินและสมบัติและผู้คนเป็นเชลยเสียมากปราสาทราชมณเฑียรต่าง ๆ ก็ถูกไปเผาพินาศสิ้น ทองหุ้มองค์พระพุทธรูป พม่าเอาไฟเผาครอกเอาไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งกล่าวว่า

"ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ เผาเหย้าเรือนอาวาส และพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร และเพลิงสว่างดังกลางวันแล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกจากเมืองลงเรือน้อยไปกับมหาดเล็กสองคน ไปซ่อนอยู่ในสุมทุมไม้ใกล้บ้านจิกขัน วัดสังฆาวาส มหาเล็กนั้นก็ทิ้งเสียหนีไปอื่น อดอาหารอยู่แต่เพียงพระองค์เดียวพม่าหาจับได้ยาก จับได้เพียงแต่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวงไปไว้ทุกๆ ค่าย.แล้วพม่าก็เอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น

หลังจากนั้นพม่าค้นหาผู้คนและทรัพย์สมบัติอยู่ 10 วัน ได้ทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมากแล้วยกกองทัพกลับ ตั้งให้สุกี้เป็นแม่ทัพกุมพล 3,000 คน อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อค้นหาสมบัติและส่งผู้คนไปยังพม่าต่อไป ส่วนองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีไปซุกซ่อนอยู่ อดอาหารมากกว่า 10 วัน สุกี้ไปพบและนำมายังค่ายโพธิ์สามต้นก็สวรรคต พร้อมกับสิ้นบุญกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี

พ.ศ. ๒๓๐๑ และสวรรคตในปีเดียวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๐ สืบเนื่องมาจากถูกพม่าเผากรุงศรีอยุธยาวอดวายและพระองค์อดอาหาร

สาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า

    1. ความเสื่อมเรื้อรังในสถาบันการเมืองและทางสังคม สืบเนื่องมาจากแย่งชิงอำนาจกัน
    2. ความเสื่อมจากการมีผู้นำที่ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด
    3. ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ เพราะเว้นจากการศึกสงครามมานาน
    4. พม่าเปลี่ยนยุทธวิธี และหันมาใช้วิธีตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ
    5. เกิดไส้ศึกภายใน
ความเสียหายที่เกิดหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๓๑๐

เป้นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำนาจไทยมา 417 ปี

ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ (English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English) (About this sound /ɑ̃glɛ/ ) ในภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกประวัติ

 การกระจายทางภูมิศาสตร์

สัดส่วนผู้ใช้ภาษาอังกฤษ (ข้อมูลปี 2540)
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ มีคนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของบริติชเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการโดยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ในฮ่องกงภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนใช้ในการติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามในฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ

 ระบบการเขียน

ภาษาอังกฤษใช้อักษรละตินเป็นอักษรหลักในการเขียน และการสะกดคำหลายคำจะไม่ตรงกับการอ่านออกเสียง ซึ่งทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่งในการเรียน

เสียงอ่าน และ ตัวอักษรสะกด

Only the consonant letters are pronounced in a relatively regular way:

IPAตัวอักษรที่แสดงเสียงอ่านสำเนียงเฉพาะ
pp
bb
tt, th (บางครั้ง) thyme, Thames
dd
kc (+ a, o, u, พยัญชนะ) , k, ck, ch, qu (บางครั้ง) conquer, kh (ศัพท์จากภาษาอื่น)
gg, gh, gu (+ a, e, i) , gue (คำลงท้าย)
mm
nn
ŋn (ก่อน g หรือ k และบางครั้ง c) , ng
ff, ph, gh (คำลงท้าย) laugh, rough
vv
θth (ไม่มีการกำหนดแน่ชัด ว่าคำใดออกเสียงใด
ð
ss, c (+ e, i, y) , sc (+ e, i, y)
zz, s, ss (บางครั้ง) possess, dessert, ขึ้นต้นด้วย x xylophone
ʃsh, sch, ti portion, ci suspicion; si/ssi tension, mission; ch (เฉพาะคำรากศัพท์จากภาษาฝรั่งเศส) ; บางครั้ง s sugar
ʒsi division, zh (ศัพท์จากภาษาอื่น) , z azure, su pleasure, g (เฉพาะคำรากศัพท์จากภาษาฝรั่งเศส) (+e, i, y) genre
xkh, ch, h (ศัพท์จากภาษาอื่น)บางครั้ง ch loch (ภาษาอังกฤษสกอตแลนด์, ภาษาอังกฤษเวลส์)
hh (คำขึ้นต้น)
ch, tch บางครั้ง tu future, culture; t (+ u, ue, eu) tune, Tuesday, Teutonic
j, g (+ e, i, y) , dg (+ e, i, consonant) badge, judg (e) ment d (+ u, ue, ew) dune, due, dew
ɹr, wr (คำขึ้นต้น) wrangle
jy (ขึ้นต้นหรือ ล้อมด้วยสระ)
ll
ww
ʍwhภาษาอังกฤษสกอตแลนด์ และอังกฤษไอร์แลนด์

สัทวิทยา

 เสียงสูงต่ำ

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในลักษณะ ภาษา intonation ซึ่งหมายถึงการใช้เสียงสูงต่ำขึ้นอยู่กับประโยคที่ใช้ ต่างกับภาษาไทยที่ใช้วรรณยุกต์เป็นตัวกำกับของเสียงสูงต่ำ ประโยคในรูปแบบต่างกัน จะใช้เสียงสูงต่ำแตกต่างกัน เช่นประโยคแสดงความตกใจ ประโยคคำถาม ประโยคสนทนา
การขึ้นเสียงสูง และลงเสียงต่ำยังคงสามารถบอกได้ถึงความหมายของประโยค ตัวอย่างเช่น
When do you want to be paid? (คุณต้องการชำระเงินเมื่อไร)

การเน้นเสียง

 การเน้นเสียงในคำ

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในลักษณะ ภาษา stress-timed ซึ่งจะมีการเน้นเสียงที่คำคำหนึ่งโดยการเน้นให้เสียงดังขึ้นหรือเสียงสูงขึ้น ในดิกชันนารี จะนิยมเขียนเครื่องหมายอะพอสทรอฟี ( ˈ ) ไว้ด้านหน้า (เช่น IPA หรือ พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด) หรือเขียนไว้ด้านหลัง (พจนานุกรมเว็บสเตอร์) โดยทั่วไป คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มี 2 พยางค์ สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าเน้นเสียงที่พยางค์แรก คำนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คำนาม หรือ คำคุณศัพท์ และถ้าเน้นเสียงที่พยางค์ที่ 2 คำนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คำกริยา

 การเน้นเสียงในประโยค

การเน้นเสียงในประโยคใช้ในการบอกความสำคัญของประโยค โดยประโยคทั่วไปจะเน้นเสียงที่คำหลักที่มีความหมายเฉพาะ โดยจะไม่เน้นเสียงที่ คำสรรพนาม และกริยาช่วย โดยประโยคทั่วไป
That | was | the | best | thing | you | could | have | done!
จะเห็นได้ว่ามีการเน้นเสียงที่คำว่า "best" และ "done" โดยคำอื่นที่เหลือจะไม่มีการเน้นเสียง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการเน้นที่คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ การเน้นเสียงจะเปลี่ยนไป เช่น
John hadn't stolen that money. (จอห์นไม่ได้ขโมยเงินไป)
จะเน้นเสียงได้หลายแบบ เพื่อแสดงหลายความหมายโดยนัยของประโยค เช่น
John hadn't stolen that money. (... คนอื่นเป็นคนขโมย)
John hadn't stolen that money. (... คุณบอกว่าเขาทำ แต่เขาไม่ได้ทำ)
John hadn't stolen that money. (... ได้รับเงิน แต่ไม่ได้ขโมย)
John hadn't stolen that money. (... จอห์นขโมยเงินของคนอื่น)
John hadn't stolen that money. (... จอห์นขโมยอย่างอื่น)

 คำศัพท์

คำศัพท์ส่วนมากในภาษาอังกฤษจะมีรากศัพท์จากภาษาเจอร์เมนิกและภาษาละติน โดยคำจากเจอร์เมนิกจะเป็นศัพท์ที่สั้นและเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวัน และคำศัพท์อังกฤษที่รากศัพท์มาจากละติน จะถือว่าเป็นคำศัพท์ของคนชั้นสูงและมีการศึกษาในสมัยก่อน ในปัจจุบันผู้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถเลือกใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันเช่น "come" (เจอร์เมนิก) "arrive" (ละติน) ; freedom (เจอร์เมนิก) "liberty" (ละติน) ; oversee (เยอร์มานิก) "supervise" (ละติน) "survey" (ฝรั่งเศสที่มาจากละติน)
นอกจากนี้ในชื่อสัตว์และเนื้อสัตว์จะใช้ศัพท์แยกจากกัน โดยตัวสัตว์จะใช้ศัพท์จากเจอร์เมนิกเป็นคำศัพท์จากชนชั้นล่างในอังกฤษ ขณะที่เนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารใช้ศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์ละตินซึ่งเกิดจากคำศัพท์ผู้บริโภคชั้นสูง เช่น "cow" และ "beef"; "pig" และ "pork"
ในปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่จากภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษ หลายภาษารวมถึงฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และภาษาต่างๆ ตัวอย่างคำเช่น creme brulee, cafe, fiance, amigo, karaoke

 ความถี่การใช้งานคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ

ความถี่การใช้งานคำศัพท์ในภาษาอังกฤษมีแนวโน้มเป็นไปตาม Zipf's Law (http://en.wikipedia.org/wiki/Zipf's_law) ตัวอย่างเช่น ใน Brown Corpus คำที่มีการใช้งานเป็นอันดับ 1 ("the") มีความถี่เกือบ 7% คำที่มีความถี่อันดับ 2 ("of") ซึ่งมีการใช้งาน 3.5% ตามด้วย "and" 2.9% คำศัพท์เพียง 135 คำที่ใช้งานสูงสุดคิดเป็นถึงครึ่งหนึ่งของเนื้อหาทั้งหมดใน Brown Corpus
คำศัพท์ที่มีความถี่การใช้งานสูงสุด 4,000 คำก็จะครอบคลุมกว่า 80% ของข้อความภาษาอังกฤษที่พบในหนังสือทั่วไป และกว่า 90% ของคำศัพท์ในภาษาพูดในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เหมาะสมจึงควรเน้นที่คำศัพท์สำคัญและมีการใช้งานสูงสุดก่อน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เน้นการเรียนในรูปแบบนี้โดยตรง ได้แก่ Insight English (http://www.in-eng.com)