วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะ




คำนิยามของศิลปะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้นิยามของศิลปะว่า
ศิลปะ คือ ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงซึ่งอารมณ์ สะเทือนใจ ให้ประจักษ์เห็น

พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 นิยามความหมายของศิลปะว่า
ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่แสดงออก ในรูปลักษณ์ ต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา และกล่าวว่า ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) กับประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)

อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในยุคกรีกโบราณ นิยามความหมาย ของศิลปะว่า
ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ

ตอลสตอย (Leo Tolstoi) นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย นิยาม ความหมาย ของศิลปะ ว่า
ศิลปะคือการถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์ออกมา

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี (C. Feroci) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้มาวางรากฐาน การศึกษาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ได้นิยามความหมายของศิลปะว่า
ศิลปะคืองาน อันเป็น ความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายาม ด้วยมือและความคิด

ศละมนุษย์ก็ ถือกำเนิดมาท่ามกลาง ธรรมชาติ อีกทั้งบนเส้นทาง การดำเนินชีวิตมนุษย์ก็ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติ จนไม่สามารถ แยกออกจากกันไดในทางศิลปะ มิใช่เป็นการบันทึก เลียนแบบเหมือนกระจกเงาหรือ ภาพถ่าย ซึ่งบันทึกสะท้อนทุกส่วน ที่อยู่ตรงหน้า แต่อาจจะเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจจะใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปด้วย


ความหมายของศิลปะ
           ศิลปะมีความหมายกว้างขวางและยากที่จะนิยาม หรือกำหนดไว้ตายตัว
เนื่องจากมีลักษณะการแสดงออกที่เป็นอิสระ สามารถที่จะสร้างสรรค์และพัฒนา
เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็พอจะรวบรวมความหมายที่นักปราชญ์ หรือผู้รู้
ได้เสนอความคิดเห็นไว้ ดังนี้

1. ตอลสตอย นักปราชญ์ชาวรัสเซีย ให้ความเห็นไว้ว่า ”ศิลปะ คือ การถ่ายทอด
ความรู้สึก เป็นวิธีการสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน”

2. อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า “ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์ถ่ายทอด
จากธรรมชาติ“

3. ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้ความหมายของศิลปะว่า “งานอันเป็นความพากเพียร
ของมนุษย์ ซึงต้องใช้ความพยายามด้วยมือและความคิด“
           มนุษย์สร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อความชื่นชม สนองความต้องการด้านอารมณ์
และจิตใจ ผ่านประสาทสัมผัส 3 ด้าน ได้แก่ ศิลปะที่มองเห็น เรียกว่า ทัศนศิลป์
ศิลปะที่แสดงออกทางเสียง เรียกว่า โสตศิลป์ หรือ ดนตรี และศิลปะที่แสดงออก
ทางลีลาการเคลื่อนไหว เรียกว่า นาฎศิลป์ หรือการละคร
           สำหรับศิลปะที่มองเห็น หรือ ทัศนศิลป์ (Visual Art) เป็นศิลปะที่สามารถสัมผัส
รับรู้ ชื่นชมทางสายตา และสัมผัสจับต้องได้ กินระวางเนื้อที่ในอากาศ แบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่
1. จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพและระบายสี หรือการแสดงออกบน
พื้นระนาบ 2 มิติ
2. ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้น การสลัก หรือการแสดงออกเป็น
ผลงาน 3 มิติ
3. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น