วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สุขศึกษา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
 
        โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง เช่น ซื้อยามารับประทานเอง การไม่ไปพบหรือปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น โรค ซิฟืลิส ถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาการของโรคจะดำเนินสู่ระยะร้ายแรง ทำให้ตาบอด หูหนวก สมองและสติปัญญาเสื่อม


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

         โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เดิมเราใช้ว่า “กามโรค” ในการเรียกโรคเหล่านี้ ได้แก่ โรคหนองใน โรคแผลริมอ่อน โรคซิฟิลิส เป็นต้น แต่ปัจจุบันพบว่ามีโรคติดต่ออีกหลายชนิดที่นอกจากจะติดต่อทางวิธีอื่น ๆ แล้ว ยังสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วย เราจึงรวมเรียกโรคเหล่านี้ว่า “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” ได้แก่ โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิดบี โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอดส์ เป็นต้น


 ลักษณะการติดต่อของโรค

การติดต่อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะอาศัยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคก็สามารถติดต่อโดยทางอื่นได้ อาทิ โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อจากเชื้อเอดส์ ซึ่งจะติดต่อได้โดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยแล้ว ยังสามารถติดต่อได้โดยผ่านทางเลือด ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดซึ่งใช้เข็มและหลอดฉีดยาร่วมกัน และยังสามารถติดเชื้อจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ได้อีกด้วย สำหรับการอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยโดยไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ การใช้ของร่วมกับผู้ป่วยจะไม่ทำให้ติดเชื้อได้


อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

        สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ หรืออาจจะมีอาการตกขาวลักษณะผิดปกติ มีแผลที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะขัดหรือมีความผิดปกติในระบบอื่นของร่างกายก็ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่ชนิดของเชื้อ และระยะของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และมารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในปัจจุบัน การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีหลายวิธี โดยมีหลักการที่จะกำจัดเชื้อทั้งหมดในร่างกาย ลดการทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตลอดจนถึงการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและส่งต่อเชื้อไปยังบุคคลอื่นๆ ด้วย สำหรับยาที่ใช้ในการรักษามีหลายชนิด ได้แก่ ยารับประทาน ยาฉีด ยาเหน็บช่องคลอด เป็นต้น ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาก็แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดและระยะของโรค การรักษาด้วยยา ขนาดเท่าใด เป็นเวลานานเท่าใดจึงควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ การซื้อยารับประทานเองอาจจะทำให้ไม่หายขาดจากโรค หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นหรือยาที่ได้ นั้น ๆ อย่างไรก็ตามยังมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อเอดส์ ซึ่งการรักษามุ่งที่จะประคับประคองผู้ป่วย ป้องกันจากภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อซ้ำเติมและการป้องกันการส่งเชื้อไปยังบุคคลอื่น ๆ อีก

        เนื่องจากอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งการรักษาที่ยากลำบากหรือไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นั่นเอง การป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ควรที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไป และสำหรับบุคคลทั่วไปก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคลอื่นที่มิใช่สามีหรือภรรยาของตน ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องใช้เครื่องป้องกัน ได้แก่ ถุงยางอนามัย เป็นต้น และถ้ามีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่ามีความผิดปกติใด ๆ ก็ควรรีบมาปรึกษาแพทย์


 สาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แบ่งตามสาเหตุเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. สาเหตุจากเชื้อไวรัส บางชนิดรักษาให้หายขาดได้บางชนิดก็ไม่มียารักษา บางชนิดก็สามารถฝังตัวอยู่และกลับเป็นซ้ำได้หลายหน ตัวอย่างของโรคกลุ่มนี้ได้แก่ เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ ไวรัสตับ อักเสบบี ฯลฯ
  1. สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาหายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ท่อปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ฯลฯ
  1. สาเหตุจากเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อพยาธิ ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ


 วิธีป้องกัน

        โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ งดเว้นการสำส่อนทางเพศ และการใช้ถุงยางอนามัย

ไทย

        ประโยคสามัญแบ่งเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน จากประโยคทั้งสามนี้เพิ่มคำขยายหรือข้อความขยาย การรวมประโยคดังกล่าวเข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นประโยคซับซ้อนขึ้น แต่สามารถสื่อสารชัดเจนและสละสลวย
        ประโยคสามัญ เป็นประโยคในภาษาไทย ตามข้อความแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
         1. ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
        คือ ประโยคที่มีข้อความเพียงหนึ่งข้อความ หรือมีใจความสำคัญเพียงหนึ่งเดียว มีภาคประธานภาคเดียว ภาคแสดงภาคเดียว สังเกตได้จากมีกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว
        หลักภาษาไทยเรียกว่า เอกัตถะประโยค มาจาก เอก + อัตถะ + ประโยค (เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความเดียว เช่น
  • นักเรียนอ่านหนังสือ
  • คุณพ่อกลับบ้านตอนเย็น
  • แม่ค้าขายผักปลา
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาไม่ต้องมีกรรมมารับ ภาพ:ประโยคความเดียว1.jpg
ตัวอย่าง ประโยคความเดียวประโยคที่กริยาต้องมีกรรมมารับ ภาพ:ประโยคความเดียว2.jpg
ตัวอย่าง ประโยคความเดียว "เป็น" เป็นกิริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้เนื้อความสมบูรณ์ ภาพ:ประโยคความเดียว4.jpg
        ข้อสังเกต ประโยคความเดียวจะมีประธานเดียว กริยาเดียว กรรมเดียว
         2. ประโยคความรวม (อเนกัตถประโยค)
        หลักภาษาไทยเรียกประโยคชนิดนี้ว่า อเนกัตถะประโยค ซึ่งมาจาก อน + เอก + อัตถะ + ประโยค (อน = ไม่ เอก = หนึ่ง อัตถะ = ข้อความ) หมายถึง ประโยคมีข้อความไม่ใช่หนึ่งข้อความ นั่นคือ ประโยคมีข้อความมากกว่าหนึ่งข้อความ เช่น
  • เงินทองเป็นของหายากและมันคือแก้วสารพัดนึก
  • พิเชษฐ์ร่ำรวยมหาศาลแต่เขาเป็นคนตระหนี่มาก
  • ยุพดีผ่านการสอบมาได้เพราะเธอมีความเพียรพยายามสูง
        ประโยคความรวม คือ การนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคมารวมกันและเชื่อมประโยคด้วยคำสันธาน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียว ที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว5.jpg
        ประโยคความรวม แบ่งย่อยได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
        2.1 ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว 2ประโยคที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว แล้ว...ก็ ครั้ง...จึง พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
        ก) ประธานหนึ่งคนทำกริยา 2 กริยาต่อเนื่องกัน เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว6.jpg
        ข) ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว7.jpg
        2.2 ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยค ที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกัน ส่วใหญ่จะมีสันธาน แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว8.jpg
        2.3 ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มี กริยา 2 กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว9.jpg
        2.4 ประโยคที่มีเนื่อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว10.jpg
         ข้อสังเกต ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน ประโยคผลเสมอ และประโยคความรวมจะมีคำว่า และ แต่ หรือ ก็ เป็นสันธานเชื่อมประโยค          3. ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
        หลักภาษาไทยเรียกประโยคความซ้อนว่า สังกรประโยค (อ่านว่า สัง-กอ-ระ-ประโยค) แปลว่า ประโยคทีส่วนปรุงแต่งให้มีข้อความมากขึ้น เช่น
  • ครูให้รางวัลแก่นักเรียนที่ขยันตั้งใจเรียน (ขยายกรรม)
  • วิโรจน์เดินทางถึงบ้านเมื่อวานนี้เอง (ขยายกริยา)
  • นายแม่นภารโรงถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง (ขยายประธาน)
        ประโยคความซ้อน คือ ประโยคประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขประโยคและมีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซ้อนอยู่ ประโยคย่อยนี้อาจทำหน้าที่ขยายประธาน ขยายกริยาหรือขยายกรรมในประโยคหลัก โดยมีประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ให้มีรายละเอียดมากขึ้น
ประโยคหลัก (มุขยประโยค) คือ ประโยคที่เป็นใจความสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคย่อย (อนุประโยค) คือ ประโยคที่ทำหน้าที่ขยายความประโยคหลัก ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
ภาพ:ประโยคความเดียว11.jpg
        ประโยคย่อย (อนุประโยค) ที่ซ้อนอยู่นี้อาจทำหน้าที่เป็นประธาน บทขยายประธาน กรรมหรือ บทขยายกรรมของประโยคหลัก (มุขยประโยค)
        ประโยคย่อย หรืออนุประโยคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
        1. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
  • คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
คนทะเลาะกัน ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
  • ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น
คนเอาเปรียบผู้อื่น ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว12.jpg
        2. ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม เช่น
  • ดอกไม้ที่อยู่ในสวนข้างบ้านบานสะพรั่ง
ที่อยู่ในสวนข้างบ้าน ขยาย ดอกไม้
  • ฉันชอบเสื้อที่แขวนอยู่หน้าร้าน
ที่แขวนอยู่หน้าร้าน ขยาย เสื้อ
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว13.jpg
        3 ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยาหรือวิเศษณ์ เช่น
  • เขาพูดเร็วจนฉันฟังไม่ทัน
จนฉันฟังไม่ทัน ขยาย เร็ว
  • ฉันหวังว่าคุณจะมา
ว่าคุณจะมา ขยาย หวัง
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์ หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณ์เพื่อขยายนามหรือสรรพนามให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกับวิเศษ คุณานุประโยคมักจะใช้ประพันธสรรพนาม(ที่ ซึ่ง อัน ว่า ผู้) เป็นตัวเชื่อม เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว14.jpg
        ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำวิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ี่ขยายกริยาหรือวิเศษณ์ เรียกว่า วิเศษณานุประโยค โดยสังเกตจากสันธาน เมื่อ จน เพราะ ราวกับ ระหว่างที่ ฯลฯ เช่น
ภาพ:ประโยคความเดียว15.jpg
         ข้อสังเกต ประโยคความซ้อนลักษณะนี้ ประโยคผลจะมาก่อนประโยคเหตุ

[แก้ไข] สรุป ประโยคความซ้อน

  • ถ้ามีอนุประโยคทำหน้าที่เป็นนามหรือมีคำ "ว่า" อยู่ในประโยค
เรียกว่า นามานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "ที่" "ซึ่ง" "อัน" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า คุณานุประโยค
  • ถ้าอนุประโยคมีคำว่า "เมื่อ" "เพราะ" "แม้ว่า" อยู่หน้าประโยค
เรียกว่า วิเศษณานุประโยค

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
   Hosted by kapook.com

ประโยคสามัญ

คณิตศาสตร์

รายการด้านล่างนี้ แสดงลักษณะหนึ่งของการแบ่งย่อยของหัวข้อทางคณิตศาสตร์เท่านั้น สำหรับการแบ่งหัวข้อตาม 2000 Mathematics Subject Classification (MSC2000) ดู: สาขาของคณิตศาสตร์

 ปริมาณ

โดยทั่วไป หัวข้อและแนวคิดเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการวัดขนาดของตัวเลข หรือเซต หรือว่าวิธีการวัดค่าดังกล่าว
1, 2, 3\,\!-2, -1, 0, 1, 2\,\! -2, \frac{2}{3}, 1.21\,\!-e, \sqrt{2}, 3, \pi\,\!2, i, -2+3i, 2e^{i\frac{4\pi}{3}}\,\!
จำนวนธรรมชาติจำนวนเต็มจำนวนตรรกยะจำนวนจริงจำนวนเชิงซ้อน
จำนวน - จำนวนธรรมชาติ - จำนวนเต็ม - จำนวนตรรกยะ - จำนวนจริง - จำนวนเชิงซ้อน - จำนวนเชิงพีชคณิต - ควอเทอร์เนียน - ออคโทเนียน (Octonions) - จำนวนเชิงอันดับที่ (ordinal number) - จำนวนเชิงการนับ - ลำดับของจำนวนเต็ม - ค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ - อนันต์

 โครงสร้าง

สาขาเหล่านี้ ศึกษาขนาดและความสมมาตรของจำนวนและวัตถุทางคณิตศาสตร์ต่างๆ
Elliptic curve simple.pngRubik's cube.svgGroup diagdram D6.svgLattice of the divisibility of 60.svg
ทฤษฎีจำนวนพีชคณิตนามธรรมทฤษฎีกรุปทฤษฎีลำดับ
พีชคณิตนามธรรม - ทฤษฎีจำนวน - ทฤษฎีกรุป - ทอพอโลยี - พีชคณิตเชิงเส้น - ทฤษฎีประเภท (Category theory) - ทฤษฎีลำดับ (Order theory)

 ความสัมพันธ์เชิงปริภูมิ

สาขาเหล่านี้ มักใช้วิธีการเชิงรูปภาพมากกว่าในสาขาอื่นๆ
Illustration to Euclid's proof of the Pythagorean theorem.svgSine cosine plot.svgHyperbolic triangle.svgTorus.pngKoch curve.svg
เรขาคณิตตรีโกณมิติเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ทอพอโลยีเรขาคณิตสาทิสรูป
ทอพอลอยี - เรขาคณิต - ตรีโกณมิติ - เรขาคณิตเชิงพีชคณิต - เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ - ทอพอโลยีเชิงอนุพันธ์ - ทอพอโลยีเชิงพีชคณิต - พีชคณิตเชิงเส้น - เรขาคณิตสาทิสรูป

 ความเปลี่ยนแปลง

หัวข้อเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการวัดความเปลี่ยนแปลงของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ และความเปลี่ยนแปลงระหว่างจำนวน
Integral as region under curve.svgVector field.svgAirflow-Obstructed-Duct.pngLimitcycle.jpgLorenz attractor.svg
แคลคูลัสแคลคูลัสเวกเตอร์สมการเชิงอนุพันธ์ระบบพลวัติทฤษฎีความอลวน


เลขคณิต - แคลคูลัส - แคลคูลัสเวกเตอร์ - คณิตวิเคราะห์ - ทฤษฎีการวัด - การวิเคราะห์เชิงฟังก์ชัน - การวิเคราะห์เชิงจินตภาพ - การวิเคราะห์ฟูร์ริเยร์ - สมการเชิงอนุพันธ์ - ระบบพลวัติ - ทฤษฎีความอลวน - รายการฟังก์ชัน

 พื้นฐานและวิธีการ

หัวข้อเหล่านี้คือแนวทางการเข้าถึงคณิตศาสตร์และมีอิทธิพลต่อวิธีที่นักคณิตศาสตร์ใช้ในการศึกษา
 p \Rightarrow q \,Venn A intersect B.svgCommutative diagram for morphism.svg
ตรรกศาสตร์ทฤษฎีเซตทฤษฎีประเภท
ปรัชญาคณิตศาสตร์ - พื้นฐานคณิตศาสตร์ (Foundations of mathematics) - ทฤษฎีเซต - ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ - ทฤษฎีโมเดล - ทฤษฎีประเภท - ตรรกศาสตร์

 วิยุตคณิต

วิยุตคณิต คือแขนงของคณิตศาสตร์ที่สนใจวัตถุที่มีค่าเฉพาะเจาะจงที่แตกต่างกัน
\begin{matrix} (1,2,3) & (1,3,2) \\ (2,1,3) & (2,3,1) \\ (3,1,2) & (3,2,1) \end{matrix}DFAexample.svgCaesar3.svg6n-graf.svg
คณิตศาสตร์เชิงการจัดทฤษฎีการคำนวณวิทยาการเข้ารหัสลับทฤษฎีกราฟ
คณิตศาสตร์เชิงการจัด - ทฤษฎีการคำนวณ - วิทยาการเข้ารหัสลับ - ทฤษฎีกราฟ

 คณิตศาสตร์ประยุกต์

สาขาในคณิตศาสตร์ประยุกต์ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาในโลกของความเป็นจริง

คณิตศาสตร์ฟิสิกส์ - กลศาสตร์ - กลศาสตร์ของไหล - การวิเคราะห์เชิงตัวเลข - การหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization) - ความน่าจะเป็น - สถิติศาสตร์ - คณิตศาสตร์การเงิน - ทฤษฎีเกม - คณิตชีววิทยา (Mathematical biology) - วิทยาการเข้ารหัสลับ - ทฤษฎีข้อมูล - ทฤษฎีระบบควบคุม

 ทฤษฎีบทที่สำคัญ

ทฤษฎีบทเหล่านี้ เป็นที่สนใจของทั้งนักคณิตศาสตร์และบุคคลทั่วไป
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส - ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์ - ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล - ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต - ทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต - ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส - วิธีการแนวทแยงของคันทอร์ - ทฤษฎีบทสี่สี - บทตั้งของซอน (Zorn's lemma) - เอกลักษณ์ของออยเลอร์ - ข้อปัญหาของเชิร์ช-ทัวริง - ทฤษฎีบทการจำแนกของพื้นผิว (classification theorems of surfaces) - ทฤษฎีบทเกาส์-โบนเนต์ (Gauss-Bonnet theorem)

 ข้อความคาดการณ์ที่สำคัญ

ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ยังไม่มีใครแก้ได้
ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาช - ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝด - สมมติฐานของรีมันน์ - สมมติฐานความต่อเนื่อง - ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร (Poincaré conjecture) - P=NP? - ปัญหาของฮิลแบร์ท

ประวัติและโลกของนักคณิตศาสตร์

ประวัติของคณิตศาสตร์ - เส้นเวลาของคณิตศาสตร์ - นักคณิตศาสตร์ - เหรียญฟิลด์ส (Fields Medal) - รางวัลอาเบล (Abel Prize) - ปัญหารางวัลสหัสวรรษ (รางวัลเคลย์แมท) (Millennium Prize Problems (Clay Math Prize)) - สหภาพคณิตศาสตร์นานาชาติ (International Mathematical Union) - การแข่งขันคณิตศาสตร์ - การคิดเชิงข้าง (Lateral thinking) - ประเด็นเกี่ยวกับความสามารถทางคณิตศาสตร์และเพศ (Mathematical abilities and gender issues)